"ปลูกป่า" ประโยชน์ที่ยั่งยืน

     ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ พร้อมกับอยู่บนพื้นฐานของความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน

     ผลที่เกิดขึ้นคือ เกิดการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าของประเทศไทย เนื่องจากประชาชนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าจากการใช้ประโยชน์ของป่าไม้ที่ปลูก โดยขอย่อประโยชน์ทั้ง 4 อย่างแนะนำดังนี้

1. พออยู่ คือการปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยาวนานซึ่งจะเน้นประโยชน์โดยใช้เนื้อไม้เพื่อสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน และถือได้ว่า เป็นการออมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคต ต้นไม้กลุ่มนี้ เช่น ตะเคียนทอง ยางนา แดง สัก พะยูง พะยอม
2. พอกิน คือ การปลูกต้นไม้ที่กินได้รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพร ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น แค มะรุม ทุเรียน สะตอ ผักหวาน ฝาง แฮ่ม กล้วย ฟักข้าว
3. พอใช้ คือ การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าไม้สำหรับใช้สอยในครัวเรือน อาทิ ทำฟืน เผาถ่าน ทำงานหัตถกรรม หรือทำน้ำยาซักล้าง ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น มะคำดีควาย หวาย ไผ่ หมี
     เหม็น เป็นต้น
4. พอร่มเย็น คือ ประโยชน์อย่างที่ 4 ที่เกิดจากการปลูกป่า 3 อย่าง ที่ทำให้เกิดความร่มเย็น และป่าทั้ง 3 อย่างนี้ จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำ ให้กลับอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่นและฉ่ำเย็นขึ้นมา


ป่า 5 ระดับแบบกสิกรรมธรรมชาติ
นอกจากนี้ อาจารย์ยักษ์ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ยังนำแนวคิดการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง มาปรับประยุกต์เป็นการ ปลูกป่า 5 ระดับ ซึ่งประกอบด้วยต้นไม้หลากหลายทั้งชนิดพันธุ์ ช่วงอายุ ลักษณะนิสัยและขนาดความสูง โดยสามารถจัดแบ่งตามระดับความสูงและระบบนิเวศได้ 5 ระดับได้แก่

1. ไม้สูง เป็นกลุ่มต้นไม้เรือนยอดสูงสุดและอายุยืน ไม้ระดับนี้ เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง รัง
2. ไม้กลาง เป็นกลุ่มต้นไม้ที่ไม่สูงนัก ไม้ในระดับนี้ได้แก่บรรดาไม้ผลที่เก็บกินได้ เช่น มะม่วง ขนุน มังคุด กระท้อน ไผ่ สะตอ
3. ไม้เตี้ย เป็นกลุ่มต้นไม้พุ่มเตี้ย ไม้ในระดับนี้ เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ผักหวานบ้าน ติ้ว เหรียง
4. ไม้เรี่ยดิน ไม้ในระดับนี้เป็นตระกูลไม้เลื้อย เช่น พริกไทย รางจืด
5. ไม้หัวใต้ดิน ไม้ในระดับนี้เช่น ขิง ข่า มันมือเสือ บุก กวาวเครือ
 
ขอบคุณข้อมูลจาก http://ced.sci.psu.ac.th/km/km/experience-km/2562/forest

Share :