น้ำ..สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำเกษตร

น้ำ ถือว่าเป็นปัจจัยหลักสำหรับการเพาะปลูกพืช จำเป็นต้องให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามระยะเวลาที่ต้องการสิ่งที่พืชขาดไม่ได้…ในการทำเกษตร

ตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้  น้ำ  ถือว่าเป็นปัจจัยหลักสำหรับการเพาะปลูกพืช จำเป็นต้องให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามระยะเวลาที่ต้องการ ดังนั้นการจัดการให้พืชปลูกได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมจะต้องใช้การชลประทานเข้าช่วย ตามความหมายแล้วการชลประทานเป็นการให้น้ำแก่พืชโดยการเพิ่มความชื้นให้แก่ดินเพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้นพอเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช และรวมความถึงการจัดหาน้ำและการส่งน้ำเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นด้วย ในการ จัดการชลประทานให้กับพืชปลูกจึงต้องคำนึงถึงน้ำ ดิน และพืชตลอดเวลา

แหล่งน้ำผิวดิน หมายถึง แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำสาธารณะอื่นๆ ที่อยู่บนบนผืนแผ่นดิน และน้ำบาดาล ก็เป็นอีกแหล่งน้ำที่สำคัญต่อการทำเกษตร

น้ำบาดาล เกิดจากน้ำฝนที่อยู่ชั้นบรรยากาศตกลงมาสู่พื้น  กลายเป็นน้ำผิวดิน  ส่วนหนึ่งงก็จะซึมลงไปอีกส่วนก็ระเหย  หรือรวมตัวกันเป็นแหล่งน้ำต่างๆ  แหล่งน้ำเหล่านั้นหากซึมลงไปก็จะถูกเก็บไว้ในชั้นใต้ดินที่ลึกลงไป  ซึ่งลึกลงไปหลายเมตรจนถึงเป็นกิโลเมตร       

นํ้าจากแหล่งต่างๆ มีคุณภาพแตกต่างกันไป นํ้าที่มีคุณภาพดีนำ ไปใช้ประโยชน์ได้มาก แต่บางพื้นที่ก็หลีกเลี่ยงได้ยากที่จะต้องนำเอานํ้าคุณภาพตํ่ามาใช้ในการชลประทาน จึงจำเป็นต้องมีการจัดการเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับดินและพืชที่ปลูกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพนํ้ามีผลต่อการเกษตร คือ ความเค็ม อัตราการซาบซึมของนํ้า (water infiltration rate) และความเป็นพิษของธาตุบางชนิด (specific ion toxicity)

ความเค็ม เกลือที่ปนอยู่ในนํ้าชลประทาน หรือมาจากนํ้าใต้ดินเค็มที่อยู่ตื้นใกล้ผิวดินทำ ให้เกิดเกลือสะสมในดินบริเวณรากพืช เมื่อมีปริมาณมากขึ้นทำให้พืชไม่สามารถดึงนํ้าจากดินได้ตามปกติ เมื่อนํ้าที่จะนำไปใช้ได้ลดลงพืชก็จะมีอัตราการเจริญเติบโตลดลง มีอาการคล้ายพืชขาดนํ้า เช่นเหี่ยว สีเขียวเข้มขึ้น ใบหนาขึ้น มีสารเคลือบใบ อาการที่แสดงออกมาขึ้นกับระยะการเจริญเติบโตของพืชมักจะสังเกตได้ชัดเจนในระยะต้นอ่อน แต่บางกรณีที่เกิดไม่รุนแรงก็ไม่เห็นอาการผิดปกติเหล่านี้ เนื่องจากมีอาการเหมือนกันหมดทั้งแปลง

 
ความหมายของการชลประทาน

การชลประทาน คือ การให้น้ำแก่พืช เพื่อช่วยให้พืชได้รับน้ำเพียงพอกับความต้องการ 
วิธีการให้น้ำแก่พืชปลูก
การให้น้ำแก่พืชอาจทำได้หลายวิธีการที่จะเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งจะต้องพิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ คุณสมบัติของดิน ลักษณะของพื้นที่ที่ได้เตรียมไว้ พืชที่จะปลูก วิธีการเพาะปลูก เงินทุน ตลอดจนน้ำต้นทุนที่จะนำมาให้แก่พืช โดยทั่วไปวิธีการให้น้ำ แบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆ ด้วยกันคือ การให้น้ำแบบฉีดฝอย (sprinkler irrigation) การให้น้ำทางผิวดิน (surface irrgation) การให้น้ำทางใต้ผิวดิน (subsurface irrigation) และการให้น้ำแบบหยด (drip irrigation)
 
ขอบคุณข้อมูลจาก http://ced.sci.psu.ac.th/km/km/experience-km/2562/forest

Share :